ญี่ปุ่นต้องการมีบทบาทและส่วนร่วมในประชาคมระหว่างประเทศอย่างสร้างสรรค์ อาทิ ความประสงค์ที่จะเป็นสมาชิกถาวรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ การผลักดันให้มีการเจรจาการค้ารอบใหม่ของ WTO เป็นต้น โดยยังคงให้ความสำคัญกับการเป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะ จีน รัสเซีย เกาหลีใต้ และอาเซียน ไทยสนับสนุนบทบาทดังกล่าวโดยเห็นว่าจะช่วยส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาค และโลก
ภายหลังเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ เมื่อกันยายน 2544 ญี่ปุ่นได้มีบทบาทที่ชัดเจนและสร้างสรรค์ในการสนับสนุนการ ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐฯ ทั้งในการปรับขยายบทบาททางทหารของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นให้สามารถ ให้การสนับสนุนแนวหลังแก่กองกำลังสหรัฐฯ ในการโจมตีอัฟกานิสถาน การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษธรรมแก่ผู้หนีภัยการสู้รบและประเทศที่อาจได้รับ ผลกระทบ การให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ ในการสกัดกั้นการหมุนเวียนทางการเงินของขบวนการก่อการร้าย และเป็นตัวกลางรณรงค์ให้ประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลางร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศ นอกจากนั้น ยังเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีเกี่ยวกับการ ให้ความช่วยเหลือในการฟื้นฟูบูรณะอัฟกานิสถาน ที่กรุงโตเกียว เมื่อ 21-22 ม.ค. 2545 ด้วย
เมื่อ 26 ก.ค. 2546 ญี่ปุ่นได้ผ่านร่างกฎหมายเพื่อต่ออายุกฎหมายที่ให้การสนับสนุนการต่อต้านการ ก่อการร้าย เพื่อให้ญี่ปุ่นสามารถจัดส่งทหารไปปฏิบัติการในอิรัก ญี่ปุ่นประกาศสนับสนุนการปฏิบัติการดังกล่าวโดยจะบริจาคเงินช่วยเหลือจำนวน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และได้ส่งทหารไปอิรักในปลายปี 2546 เพื่อเตรียมเข้าร่วมการปฏิบัติการขนส่งยุทโธปกรณ์และเสบียงและการซ่อมบำรุง สาธารณูปโภคพื้นฐาน
ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ ที่จัดขึ้นที่กรุงโตเกียว ระหว่าง 11-12 ธ.ค. 2546 ญี่ปุ่นได้ประกาศจะให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้เป็นมูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยแบ่งครึ่งกันระหว่างอาเซียนกับการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง ผู้นำอาเซียนและญี่ปุ่นได้ลงนามปฏิญญาโตเกียวว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วน ที่มีพลวัตและยั่งยืนระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่นในสหัสวรรษใหม่
8011