Skip to main content

หน้าหลัก

กฏหมายแรงงานญี่ปุ่นที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายแรงงาน
ประเทศญี่ปุ่นมีกฎหมายมาตรฐานแรงงาน ที่มีผลบังคับใช้ทั้งคนญี่ปุ่นและแรงงานต่างชาติเท่าเทียมกัน 

การระบุเงื่อนไขการทำงานอย่างชัดเจน
หลักเกณฑ์ในการระบุเงื่อนไขอย่างชัดเจน
          ในการทำสัญญาการจ้างงาน นายจ้างต้องระบุเงื่อนไขการทำงานของลูกจ้างให้ชัดเจนในเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งเนื้อหาที่ต้องระบุมีดังต่อไปนี้
a. ระยะเวลาของสัญญาจ้างแรงงาน
b. เกณฑ์การต่อสัญญาจ้างแรงงานที่มีกำหนดระยะเวลา
c. สถานที่ทำงานและหน้าที่ของงาน
d. เวลาเริ่มงาน – เลิกงาน เวลาพัก วันหยุด การลาหยุด การเปลี่ยนช่วงเวลาการทำงาน และการชี้แจงว่ามีการให้ทำงานเกินเวลาที่กำหนดหรือไม่
e. การกำหนดค่าจ้าง การคำนวณค่าจ้าง วิธีการจ่ายค่าจ้าง การตัดงวดค่าจ้าง และช่วงเวลาในการจ่ายค่าจ้าง
f. การออกจากงาน (รวมถึงเหตุผลในการเลิกจ้าง)

          เงื่อนไขในการทำงานที่กำหนดโดยกฎหมายมาตรฐานแรงงานถือเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำ หากในสัญญาจ้างแรงงานมีส่วนที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดให้ว่ากันตามเกณฑ์ที่กำหนดหมายกำหนด 

สัญญาจ้างแรงงาน
การจัดทำสัญญาจ้างแรงงาน
          ลูกจ้างและนายจ้างต้องทำสัญญาจ้างแรงงานตามข้อตกลงทั้งสองฝ่ายว่าด้วย “การทำงานของลูกจ้างที่ถูกจ้างโดยนายจ้าง” และ “การจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างดังกล่าวของนายจ้าง” โดยไม่มีการยึดติดอยู่กับรูปแบบสัญญาต่างๆ เช่น “การว่างจ้าง” “การรับเหมา” “การมอบอำนาจ” เป็นต้น
ความสัมพันธ์ระหว่างสัญญาจ้างแรงงานกับข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
          กรณีที่ลูกจ้างเข้าทำงานโดยที่ไม่มีการระบุเงื่อนไขการทำงานอย่างละเอียด ให้ยึดถือตามเงื่อนไขการทำงานที่ระบุไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานนนั้นๆ เป็นเงื่อนไขในการทำงานของลูกจ้างคนดังกล่าว อนึ่ง หากมีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับเงื่อนไขการทำงานซึ่งแตกต่างเนื้อหาข้อมูลในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ให้ยึดตามข้อตกลงดังกล่าวแทน ยกเว้นข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
หน้าที่ในการจัดการความปลอดภัย
          โดยปกติทั่วไป การจัดการเรื่องความปลอดภัยเป็นหน้าที่ของนายจ้างพร้อมกับสัญญาการจ้างแรงงาน ถึงแม้จะไม่มีข้อกำหนดพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในสัญญาจ้างแรงงานเป็นพิเศษก็ตาม ทั้งนี้ เพื่อให้ลูกจ้างสามารถทำงานด้วยความปลอดภัยทั้งชีวิต ร่างกายและอื่นๆ  

สัญญาจ้างแรงงานแบบมีกำหนดระยะเวลา
การถูกเลิกจ้างขณะยังทำงานในระยะเวลาที่สัญญากำหนด (กฏหมายสัญญาจ้างแรงงาน มาตราที่ 17)
          นายจ้างไม่สามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้จนกว่าจะครบระยะเวลาสัญญานั้นๆ กำหนดเอาไว้ ยกเว้นกรณีมีเหตุสุดวิสัย นอกจากนี้นายจ้างยังต้องคิดพิจารณาตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานลูกจ้างภายใต้สัญญาจ้างแรงงานแบบมีกำหนดระยะเวลา  เพื่อไม่เกิดการต่อสัญญาดังกล่าวซ้ำกันหลายครั้งด้วยการกำหนด
การเปลี่ยนสัญญาจ้างแรงงานเป็นแบบไม่มีกำหนดระยะเวลา (กฏหมายสัญญาจ้างแรงงาน มาตราที่ 18)
          หากมีการต่อสัญญาจ้างแรงงานแบบมีกำหนดระยะเวลาซ้ำกันหลายครั้งรวมกันเกิน 5 ปี ต้องเปลี่ยนสัญญาดังกล่าวไปเป็นสัญญาจ้างแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาตามคำร้องขอของลูกจ้า
* กรณีเป็นวิศวกร นักวิจัย หรืออาจารย์ของมหาวิทยาลัยและองค์กรการวิจัยพัฒนา กฎการเปลี่ยนสัญญาจ้างแรงงานแบบไม่มีระยะเวลาจะถูกบังคับใช้ก็ต่อเมื่อมีการต่อสัญญาจ้างแรงงานแบบมีกำหนดระยะเวลารวมกันเกิน 10 ปี เนื่องจากการทำงานของบุคคลอาชีพดังกล่าวถือเป็นกรณีพิเศษ
* กรณีเป็นลูกจ้างที่มีความรู้เฉพาะทางระดับสูงและมีกำหนดระยะเวลาการทำงานเกิน 5 ปี (แต่ไม่เกิน 10 ปี) ภายใต้สัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลา ลูกจ้างคนดังกล่าวจะไม่มีสิทธิ์ในการเปลี่ยนสัญญาจ้างเป็นแบบไม่กำหนดระเวลา จนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาทำงานที่กำหนดไว้ จนกว่านายจ้างจะได้รับการอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสัวสดิการของประเทศญี่ปุ่น กรณีเป็นลูกจ้างที่ได้รับการว่าจ้างอย่างต่อเนื่องหลังเกษียณภายใต้สัญญาจ้างแรงงานแบบมีกำหนดระยะเวลา ลูกจ้างคนดังลก่าวจะไม่มีสิทธิ์ในการยื่นขอเปลี่ยนสัญญาจ้างเป็นแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาในช่วงที่ได้รับการจ้างงานอย่างต่อเนื่อจนกว่านายจ้างได้รับอนุมัติจากจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสัวสดิการของประเทศญี่ปุ่น
หน้าที่ในการระบุเกณฑ์การต่อสัญญาอย่างชัดเจน (กฏหมายสัญญาจ้างแรงงาน มาตราที่ 15)
          
การทำสัญญาจ้างแรงงาน นายจ้างต้องระบุระยะเวลาของสัญญาและ  “กฎเกณฑ์สำหรับการต่อสัญญาจ้างแรงงานแบบกำหนดระยะเวลา
” ให้ชัดเจนในเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษรด้วย เพื่อให้ลูกจ้างรับทราบและสามารถคาดการณ์เกี่ยวกับการช่วงเวลาของต่อสัญญา/สิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงานแบบมีกำหนดระเวลา รวมทั้งเป็นการป้องกันการเกิดข้อพิพาทในอนาคต
ระยะเวลาของสัญญา (กฏหมายสัญญาจ้างแรงงาน มาตราที่ 14)
          
โดยหลักการทำสัญญาจ้างแรงงานแบบกำหนดระยะเวลา ไม่สามารถทำสัญญาจ้างงานเกิน 3 ปีสำหรับกรณีการทำสัญญาจ้างแรงงานประเภทลูกจ้างผู้มีความรู้เฉพาะทางระดับสูงหรือลูกจ้างที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สัญญาจ้างแรงงานสามารถระบุระเวลาได้ไม่เกิน 5 ปี และสำหรับการจ้างงานซึ่งมีการกำหนดระยะเวลาในการดำเนินงานโครงการธุรกิจ สามารถกำหนดระยะเวลาการจ้างงานจนสิ้นสุดระยะของโครงการได้ 

ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
การจัดทำ เปลี่ยนแปลงข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
          นายจ้างที่มีลูกจ้าง (รวมถึงพนักงานพาร์ทไทม์และพนักงานสัญญาจ้าง) ไม่ต่ำกว่า 10 คน ต้องจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและแจ้งต่อผู้อำนวยการสำนักงานตรวจสอบมาตรฐานแรงงานโดยแนบหนังสือแสดงความคิดเห็นของผู้แทนลูกจ้างที่มีสมาชิกเกินครึ่งหนึ่งด้วย หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ก็จะดำเนินการดังกล่าวเช่นกัน
          ทั้งนี้ นายจ้างจำเป็นต้องประกาศและประชาสัมพันธ์ถึงข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้ลูกจ้างในบริษัท/ที่ทำงานทราบโดยถ้วนกัน เช่น การติดประกาศ การแจกจ่ายเอกสารให้แก่ลูกจ้าง เป็นต้น

ค่าจ้าง
หลักเกณฑ์การจ่ายค่าจ้าง
          a. ต้องจ้างเป็นเงิน (ยกเว้นกรณีที่ระบุไว้เป็นอย่างอื่นในกฏหมายข้อบังคับหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างงาน)
          b. ต้องจ่ายให้ลูกจ้างโดยตรง
          c. ต้องจ่ายเต็มจำนวน ห้ามนำเอาค่าต่างๆ ที่ไม่ใช่ภาษี หรือค่าที่กำหนดในข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างมาหักลบออก
          d. ต้องจ่ายตามวันที่กำหนดทุกๆ เดือน เดือนละไม่ต่ำกว่า 1 ครั้ง (ยกเว้นเงินพิเศษ เช่น โบนัส เป็นต้น)

          นายจ้างต้องจ่ายค่าตอบแทนให้แก่แรงงานในการทำงานล่วงเวลา ดังนี้

การทำงานล่วงเวลา อัตราค่าล่วงเวลา (ต่อชั่วโมง)
การทำงานล่วงเวลา (เกินชั่วโมงทำงานที่กฏหมายกำหนด) ≥ ร้อยละ 25
(กรณีทำงานล่วงเวลาเกิน 60 ชั่วโมง/เดือน)
≥ ร้อยละ 50
(บังคับใช้กับสถานประกอบการทุกขนาด)

การทำงานกลางคืน (เวลา 22.00 น. – 5.00 น. ของวันถัดไป)

≥ ร้อยละ 25

การทำงานในวันหยุด

≥ ร้อยละ 35


          สำหรับบริษัทที่ใช้ระบบการทำงานแบบยืดหยุ่น แรงงานจะได้รับค่าล่วงเวลาเฉพาะในกรณีที่นายจ้างให้ทำงานเกินชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์ที่กฎหมายกำหนด รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการคำนวณค่าล่วงเวลาให้สอบถามบริษัท

สวัสดิการตามกฎหมาย

          แรงงานในประเทศญี่ปุ่นต้องเข้าระบบประกันสุขภาพ และระบบประกันบำนาญตามกฎหมาย ซึ่งนายจ้างและแรงงานจ่ายค่าเบี้ยประกันคนละครึ่ง โดยนายจ้างมีหน้าที่หักค่าเบี้ยประกันจากเงินเดือนของแรงงานและนำจ่ายให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกเดือน

          รายละเอียดเกี่ยวกับประกันสุขภาพ  http://japan.mol.go.th/node/3860

          รายละเอียดเกี่ยวกับประกันบำนาญ  http://japan.mol.go.th/node/3924

          ทั้งนี้ แรงงานต่างชาติที่เดินทางกลับประเทศแล้ว สามารถขอเงินบำเหน็จกรณีชราภาพคืนจาก Japan Pension Service ได้

 

เรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน กรุณาอ่านคู่มือแรงงานไทยในประเทศญี่ปุ่น((ลิงค์))


39012
TOP