Skip to main content

หน้าหลัก

การออกใบอนุญาตทำงาน

การออกใบอนุญาตทำงาน

  • ประเทศญี่ปุ่นไม่มีการออกใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) แต่ชาวต่างชาติสามารถทำงานได้ตามสถานภาพการพำนัก (VISA) แต่ละประเภท
  • ประเภทสถานภาพพำนักของชาวต่างชาติที่พำนักในประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ ผู้พำนักถาวร ผู้พำนักถาวรพิเศษ ผู่พำนักระยะยาว ผู้พำนักระยะยาว คู่สมรสผู้พำนักถาวรหรือชาวญี่ปุ่น เป็นต้น สามารถทำกิจกรรมต่างๆ (เช่น การทำงาน) ได้โดยไม่มีข้อจำกัด ส่วนผู้ที่มีสถานภาพพำนักอื่นๆ จะสามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น สามารถทำงานได้ตามสถานภาพพำนักที่ได้รับเมื่อเดินทางเข้าประเทศ และในช่วงระยะเวลานานเท่าที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น 
  • กรณีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพพำนัก/ขอขยายระยะเวลาอนุญาตพำนัก/ขอดำเนินกิจกรรมนอกเหนือจากที่อนุญาต จะต้องยื่นเรื่องขออนุญาตต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
  • เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2559 มีการปรับปรุงกฎหมายควบคุมคนเข้าเมือง ดังนี้ (1) เพิ่มสถานภาพการพำนัก ผู้บริบาลผู้สูงวัยและผู้พิการ (Care Worker) (2) กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาผู้ปลอมแปลงสถานภาพพำนัก โดยมีบทลงโทษและขยายเหตุผลในการยกเลิกสถานภาพการพำนัก
  • เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2561 สืบเนื่องจากการประชุมรัฐสภาสามัญประจำปีญี่ปุ่น ครั้งที่ 197 ที่ประชุมมติเห็นชอบ เรื่อง การปรับปรุงกฎหมายการก่อตั้งกระทรวงยุติธรรมและกฎหมายว่าด้วยการกำกับดูแลคนเข้าเมืองและผู้ลี้ภัย โดยมีการปรับปรุง/แก้ไขในประเด็นการก่อตั้งสำนักงานกำกับดูแลคนเข้าเมือง (Immigration Services Agency ) และการกำหนดสถานะพำนักแรงงานทักษะเฉพาะประเภท 1 (Specified Skilled Worker 1) ประเภท 1 และแรงงานทักษะเฉพาะประเภท 2 (Specified Skilled Worker 2) 

ประเภทสถานภาพการพำนัก
สถานภาพการพำนักตามกฎหมายควบคุมคนเข้าเมือง (Immigration Control Act) มีรายละเอียด ดังนี้

  1. สถานภาพการพำนักที่สามารถทำงานภายใต้ขอบข่ายอาชีพที่กำหนด
  2. สถานภาพการพำนักที่ไม่สามารถทำงานได้
  3. สถานภาพการพำนักตามประเภทกิจกรรมที่ได้รับอนุญาต
  4. สถานภาพการพำนักตามสภาพทางสังคม (สามารถทำงานได้ไม่มีข้อจำกัด) 

สถานภาพการพำนักที่สามารถทำงานภายใต้ขอบข่ายอาชีพที่กำหนด เป็นสถานภาพการพำนักที่แรงงานไทยเดินทางจำนวนมาก โดยเฉพาะสถานภาพการพำนักที่ 14 – 18 โดยสถานภาพการพำนักที่ 18 เริ่มประกาศใช้เมื่อเดือนเมษายน 2562  

สถานภาพพำนัก
กิจกรรมที่อนุญาต
ระยะเวลาอนุญาต
1. นักการทูต (Diplomat)
กิจกรรมของสมาชิกคณะทูตานุทูตของรัฐบาลต่างประเทศ รวมถึงการประกอบกิจกรรมของสมาชิกในครอบครัว
ภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต
2. เจ้าหน้าที่ขององค์กรภาครัฐต่างประเทศ (Official)
กิจกรรมของหน่วยงานรัฐบาลของต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ รวมถึงสมาชิกในครอบครัว
5 ปี, 3 ปี,1 ปี, 3 เดือน, 30 วัน หรือ 15 วัน
3. ศาสตราจารย์ (Professor)
กิจกรรมค้นคว้าวิจัย ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการค้นคว้าวิจัย การศึกษาในมหาวิทยาลัยญี่ปุ่นหรือเทียบเท่า
5 ปี, 3 ปี, 1 ปี หรือ 
3 เดือน
4. ศิลปิน
(Artist)
กิจกรรมด้านดนตรี ศิลปะ วรรณกรรม 
วิจิตรศิลป์ ฯลฯ และดำรงชีพด้วยรายได้จากกิจกรรมเหล่านี้
5 ปี, 3 ปี, 1 ปี หรือ 3 เดือน
5. ผู้ประกอบกิจกรรมทางศาสนา
(Religious Activities)
ผู้เผยแพร่ศาสนาที่ถูกส่งมาจากองค์กรทางศาสนาในต่างประเทศเพื่อประกอบกิจกรรมด้านศาสนา
5 ปี, 3 ปี, 1 ปี หรือ 3 เดือน
6. นักข่าว/นักหนังสือพิมพ์ (Journalist)
ผู้ที่ทำสัญญากับสำนักข่าวต่างประเทศและดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับหาข่าวและสื่อข่าว
5 ปี, 3 ปี, 1 ปี หรือ 3 เดือน
7. ผู้เชี่ยวชาญ
(Highly Skilled Professional)
 
 
 
 
 
ผู้ชำนาญเฉพาะด้านระดับสูง ประเภท 1
7.1 กิจกรรมการศึกษาวิจัยทางวิชาการระดับแนวหน้า
ผู้ที่ทำสัญญากับองค์กรภาครัฐหรือเอกชนของญี่ปุ่น ในการทำหน้าที่ศึกษาวิจัย ให้คำแนะนำหรือฝึกสอนเกี่ยวกับการวิจัย
7.2 กิจกรรมใช้ความชำนาญเฉพาะด้านหรือเทคนิคระดับสูงผู้ที่ทำสัญญากับองค์กรภาครัฐหรือเอกชนของญี่ปุ่นในการทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความรู้หรือเทคนิคด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ หรือมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
7.3 กิจกรรมด้านการบริหารระดับสูงผู้ที่ทำสัญญากับหน่วยงานเอกชนในญี่ปุ่นเพื่อทำการบริหารธุรกิจหรือควบคุมกิจการ
 
* การพิจารณาประกอบด้วย ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน รายรับต่อปี ฯลฯ โดยผู้ที่ผ่านเกณฑ์ 70 คะแนนขึ้นไป จะได้รับการรับรองว่าเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมชำนาญเฉพาะด้านระดับสูง
* ได้รับสิทธิพิเศษอื่นๆ เช่น สามารถดำเนินกิจกรรมได้มากกว่าหนึ่งประเภท
5 ปี
 
ผู้ชำนาญเฉพาะด้านระดับสูง ประเภท 2
ผู้ทีประกอบกิจกรรมผู้ชำนาญเฉพาะด้านระดับสูงประเภท 1 และพำนักอยู่ในประเทศญี่ปุ่นเกิน 3 ปีขึ้นไป และทำประโยขน์ให้แก่ประเทศญี่ปุ่นตามที่ประกาศในกฎกระทรวงยุติธรรมประเทศญี่ปุ่น
ไม่มีกำหนด
8. นักลงทุน/ผู้บริหาร(Management)
ดำเนินกิจกรรมการค้าระหว่างประเทศหรือบริหารธุรกิจอื่นๆ ในประเทศญี่ปุ่น หรือดำเนินกิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
5 ปี, 3 ปี, 1 ปี หรือ 3 เดือน
9. นักกฎหมาย/ นักบัญชี (Legal/Accounting Service)
ผู้ดำเนินกิจกรรมเป็นนักกฎหมายของสำนักงานกฎหมายของต่างประเทศหรือผู้ตรวจสอบบัญชีของสำนักงานบัญชีของต่างประเทศ ทั้งนี้ ต้องเป็นผู้มีใบประกาศรับรอง
5 ปี, 3 ปี, 1 ปี หรือ 3 เดือน
10. ผู้ให้บริการทางการแพทย์
(Medical Services)
ผู้ที่มีใบประกอบอาชีพแพทย์ ทันตแพทย์ หรือวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์
5 ปี, 3 ปี, 1 ปี หรือ 3 เดือน
11. นักวิจัย
(Researcher)
ผู้ที่ทำสัญญากับองค์กรภาครัฐหรือเอกชนของญี่ปุ่นในการดำเนินกิจกรรมด้านการค้นคว้าวิจัย
5 ปี, 3 ปี, 1 ปี หรือ 3 เดือน
12. ครู/ผู้สอน 
(Instructor)
กิจกรรมการศึกษาในโรงเรียนประถม มัธยมต้น/ปลาย โรงเรียนฝึกวิชาชีพ หรือสถานศึกษาที่เทียบเท่าโรงเรียน เช่น โรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่น และสถานศึกษาอื่นๆ
5 ปี, 3 ปี, 1 ปี หรือ 3 เดือน
13. วิศวกร/
ผู้เชี่ยวชาญด้านมนุษยศาสตร์และกิจการต่างประเทศ
(Specialist in Technologies/ Humanities/ International Services)
ผู้ที่ทำสัญญากับภาคเอกชนของญี่ปุ่นในการดำเนินกิจกรรมที่ต้องใช้ความรู้ด้านวิศวกร วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ หรือมนุษยศาสตร์ เช่น กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ หรือการดำเนินกิจกรรมที่ต้องใช้ความรู้พื้นฐานหรือความรู้สึกนึกคิดเชิงวัฒนธรรมของต่างประเทศ
5 ปี, 3 ปี, 1 ปี หรือ 3 เดือน
14. ผู้ทำงานกับบริษัทสาขาในต่างประเทศ
(Intra-company transferee)
กิจกรรมด้านวิศวกร มนุษยศาสตร์ งานด้านต่างประเทศที่เป็นการโอนย้ายพนักงานจากบริษัทลูกในต่างประเทศมาทำงานบริษัทแม่ในประเทศญี่ปุ่น
5 ปี, 3 ปี, 1 ปี หรือ 3 เดือน
15. นักแสดง 
(Entertainer)
กิจกรรมด้านศิลปะ เช่น การแสดงละคร นาฏศิลป์ ดนตรี กีฬาหรือธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการให้ความบันเทิง
๓ ปี, ๑ ปี,
๖ เดือน
๓ เดือน
หรือ ๑๕ วัน
16. แรงงานฝีมือ
(Skilled Labour)
 
ผู้ที่ทำสัญญากับภาครัฐและเอกชนของญี่ปุ่นในการดำเนินกิจกรรมที่ต้องใช้เทคนิคและความชำนาญพิเศษด้านช่างเฉพาะด้านในอุตสาหกรรมนั้น
5 ปี, 3 ปี, 1 ปี หรือ 3 เดือน
17. ผู้ฝึกงานด้านเทคนิค
(Technical Intern
Training)
ผู้ฝึกงานด้านเทคนิคประเภท 1 (ปีที่ 1)
ผู้ฝึกงานที่มีวัตถุประสงค์ทำการฝึกฝนด้านทักษะฝีมือ เทคนิค ความรู้เพื่อนำไปถ่ายทอดภายใต้เงื่อนไขการจ้างงาน
1 ปี หรือ 6 เดือน
 
ผู้ฝึกงานด้านเทคนิคประเภท 2 (ปีที่ 2)
ผู้ฝึกงานด้านเทคนิคประเภท 1 ที่ได้ฝึกฝนด้านเทคนิคและต้องการทำงานเพื่อฝึกฝนให้เกิดความชำนาญยิ่งขึ้น ภายใต้เงื่อนไขการจ้างงาน
ไม่เกิน ๑ ปี ตามคำสั่งรมว.กระทรวงยุติธรรม
 
*ผู้ฝึกงานด้านเทคนิคประเภท 1 และ 2 แบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามการรับผู้ฝึกงาน
(ก) บริษัทลูกที่ไปลงทุนในต่างประเทศจัดส่งพนักงาน มาทำงานกับบริษัทแม่ในประเทศญี่ปุ่น หรือเรียกว่าบริษัทแม่เป็นผู้รับผู้ฝึกงาน (Individual Enterprise Type)
(ข) องค์กรขนาดกลางและเล็กดำเนินการโดยไม่แสวงหาผลกำไรเป็นผู้รับผิดชอบในการรับและควบคุมการฝึกงานในสถานประกอบการเอกชนที่รับผู้ฝึกงานไปทำงาน หรือเรียกว่า องค์กรรับเป็นผู้รับผู้ฝึกงาน (Supervising Organization Type)
 
18.แรงงานทักษะเฉพาะทาง
(Specified Skilled Worker)
  • แรงงานทักษะฝีมือเฉพาะทางประเภท 1
    เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ทำงานในกลุ่มสาขาอาชีพที่กำหนด
ระยะเวลาสูงสุด 5 ปี/1 ปี/6  เดือน/4 เดือน   
 
  • แรงงานทักษะฝีมือเฉพาะทางประเภท 2
    เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ทำงานระดับเชี่ยวชาญในกลุ่มสาขาอาชีพที่กำหนด
ระยะเวลา 3 ปี/1 ปี/6 เดือน สามารถต่ออายุทำงานได้ต่อเนื่อง
 
          นอกจากนี้ ผู้ได้รับสถานภาพพำนัก “นักเรียน” (College Student) หรือ “ผู้ติดตามครอบครัว” (Dependent) ที่ต้องการทำงานพิเศษจะต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองก่อนจึงจะทำงานได้ ทั้งนี้ สามารถทำงานได้ไม่เกิน 28 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือสำหรับนักเรียนระหว่างช่วงวันหยุดฤดูร้อนหรือปิดเทอมสามารถทำงานได้ไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน ทั้งนี้ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะประทับตราอนุญาต (ไม่ระบุนายจ้าง) ให้ดำเนินกิจกรรมนอกเหนือไว้ด้านหลังของบัตรประจำตัวผู้พำนักอาศัย (Zairyu Card)
          การขอวีซ่าจะต้องดำเนินการมาตั้งแต่ก่อนเดินทางออกจากประเทศไทย ไม่สามารถเข้าประเทศญี่ปุ่นโดยใช้การยกเว้นวีซ่าท่องเที่ยว 15 วัน แล้วมาขอเปลี่ยนสถานภาพพำนักภายหลังได้ หากมีผู้กล่าวว่าจะสามารถขอวีซ่าให้ได้ ให้เข้าใจว่าเป็นกระบวนการค้ามนุษย์ ขอให้หลีกเลี่ยงการข้องเกี่ยวกับบุคคลดังกล่าว และแจ้งให้กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน กรมการจัดหางานทราบ

ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2566


56253
TOP