สำนักงานแรงงานในประเทศญี่ปุ่นได้ดำเนินภารกิจของกระทรวงแรงงานในการให้ความคุ้มครอง ดูแล ช่วยเหลือ ตลอดจนรักษาสิทธิประโยชน์พึงมีพึงได้ของแรงงานไทยมาโดยตลอด นอกจากนี้ ยังมีภารกิจเพิ่มเติมที่ได้รับการมอบหมายจากสถานเอกอัครราชทูตซีอีโอในการให้การช่วยเหลือแก่คนไทยในญี่ปุ่น โดยภารกิจที่สำคัญ ได้แก่
– การตรวจสอบสัญญาการจ้างงานเพื่อให้แรงงานไทยได้รับค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และสิทธิประโยชน์ตามสัญญาจ้างและตามกฎหมายท้องถิ่นที่กำหนดไว้
– ดูแลคุ้มครองและช่วยเหลือแรงงานไทยให้ได้รับสิทธิตามพระราชบัญญัติจัดหางาน และ คุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537
– การพิจารณากำหนดและวางมาตรฐานเงื่อนไขขั้นต่ำในการทำสัญญาจ้างและเงื่อนไขอื่นๆ ในการจ้าง แรงงานไทย
– การตรวจสอบรับรองเอกสารการจ้างงานของนายจ้างในต่างประเทศ เพื่อคุ้มครอง และป้องกันการ หลอกลวงแรงงานไทย โดยการตรวจสอบตำแหน่งงาน ตรวจสอบลักษณะงาน เพื่อให้เกิดสิทธิประโยชน์สูงสุดแก่แรงงานไทย
– ทำหน้าที่ด้านแรงงานสัมพันธ์ในการเจรจาไกล่เกลี่ย เป็นผู้ประสานงานเจรจาเมื่อเกิดปัญหาข้อพิพาทระหว่างนายจ้างและแรงงานไทย รวมถึงเป็นตัวแทนของแรงงานไทยในการดำเนินคดีต่างๆ หรือเมื่อแรงงานไทยถูกล่วงละเมิดสิทธิ
– ดำเนินการช่วยเหลือส่งแรงงานไทยกลับประเทศในกรณีต่างๆ เช่น เกิดภาวะสงครามหรือ ภัยทางธรรมชาติ รวมถึงกรณีแรงงานไทยผิดกฎหมายถูกจับและเนรเทศ
– ให้คำแนะนำ ปรึกษา รวมถึงการจัดประชุมให้ความรู้แก่แรงงานไทยในเรื่องต่างๆ ณ สำนักงานแรงงาน หรือ โดยการออกไปดำเนินการตามสถานประกอบการที่แรงงานไทยทำงานอยู่ รวมทั้งการตรวจเยี่ยมแรงงานไทยตามเรือนจำ สถานกักกัน โรงพยาบาล เป็นต้น
– ประสานงานให้ความร่วมมือระหว่างประเทศ รวมถึงประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างภาพพจน์ที่ดีแก่แรงงานไทย รวมถึงร่วมป้องกันแก้ไขปัญหาข้อพิพาทต่างๆก่อนที่จะลุกลามกลายเป็นปัญหาใหญ่
– การสงเคราะห์สิ่งของ และอาหารแห้งต่างๆให้แก่ผู้ฝึกงานไทย แรงงานไทย เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานและฝึกงาน
– การให้บริการให้คำปรึกษาและรับคำร้องทุกข์ทางโทรศัพท์สายด่วนตลอด 24 ชั่วโมง จำนวน 3 สาย
นอกจากนี้ยังได้การดำเนินภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากสถานเอกอัครราชทูต CEO ณ กรุงโตเกียว ดังนี้
– ติดตามคนไทยที่สูญหาย/ถูกหลอกในญี่ปุ่น
– การให้ความช่วยเหลือคนป่วย
– การให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ตกทุกข์ได้ยาก (การให้ความช่วยเหลือหญิงไทยที่ถูกสามีทอดทิ้ง)
– การ Monitor สภาพโรงงานและสภาพความเป็นอยู่ของแรงงานไทย
– การประสาน/ติดตามคนไทยที่เดินทางกลับ
– การให้ความช่วยเหลือแก่แรงงานไทยผู้ถูกจับกุม (โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ/เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง) โดยไปเยี่ยมเยียน และส่งข่าวให้ญาติทราบ(หากประสงค์)
– การส่งของเยี่ยมเยียนคนไทยที่ถูกตัดสินลงโทษจำคุกในญี่ปุ่น
– การจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปทำงานร่วมกับสอท.เป็นครั้งคราวเพื่อเพิ่มทักษะและการประสานงานที่กระชับยิ่งขึ้น
5429