รายละเอียดเกี่ยวกับมาตรฐานผู้ฝึกงานฯสาขาผู้บริบาล
(Care Worker)
ประกาศกระทรวงยุติธรรมและกระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการ เมื่อที่ 29 กันยายน 2560
มีการแก้ไขเนื้อหาบางส่วนเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560
กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้ฝึกงานด้านเทคนิคหรือแนวทางการปฎิบัติให้ถูกต้องของผู้ฝึกงานด้านเทคนิคชาวต่างชาติ (ตามกฏหมายปี 2559 มาตราที่ 89 ซึ่งจะเรียกว่า “กฎหมาย”) และข้อบังคับใช้ของกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้ฝึกงานด้านเทคนิคหรือแนวทางการปฎิบัติให้ถูกต้องของผู้ฝึกงานด้านเทคนิคชาวต่างชาติ (กระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการปี 2559 พระราชกฤษฎีกาหมายเลข 3 ซึ่งจะเรียกว่า “ข้อบังคับใช้”) ซึ่งรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องได้มีการปรับปรุงเนื้อหาทั้งหมดรวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับสาขาอาชีพของผู้ฝึกงานฯ
มีการประกาศมาตรฐานผู้ฝึกงานฯสาขาผู้บริบาลที่รัฐมนตรีผู้เกี่ยวข้องกำหนดและการจำกัดความของข้อบังคับใช้ของกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้ฝึกงานด้านเทคนิคหรือแนวทางการปฎิบัติให้ถูกต้องของผู้ฝึกงานด้านเทคนิคชาวต่างชาติ (ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการปี 2560 ฉบับที่ 320 ซึ่งจะเรียกว่า “ประกาศ”) นอกจากนี้รายละเอียดเกี่ยวกับการประกาศมาตรฐานผู้ฝึกงานฯสาขาผู้บริบาลที่รัฐมนตรีผู้เกี่ยวข้องกำหนดและการจำกัดความของข้อบังคับใช้ของกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้ฝึกงานด้านเทคนิคหรือแนวทางการปฎิบัติให้ถูกต้องของผู้ฝึกงานด้านเทคนิคชาวต่างชาติ (ที่ประกาศเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2560 หมายเลขเอกสาร 0929 หัวข้อ 4 หมายเลขเอกสาร 0929 หัวข้อ 2 ซึ่งจะเรียกว่า “การแปลความ”)
มีรายละเอียดในแต่ละหัวข้อ ดังนี้
เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้ฝึกงานด้านเทคนิค
(1) คุณสมบัติพื้นฐานของผู้ฝึกงานด้านเทคนิค
ก. เป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป
ข. เป็นผู้ที่เข้าใจรายละเอียดระบบการฝึกงาน
ค. นำความรู้ที่ได้รับระหว่างการฝึกงานกลับไปใช้ยังประเทศของตน
ง. กรณีที่เป็นการส่งผู้ฝึกงานฯโดยมีบริษัทแม่อยู่ในญี่ปุ่นจะต้องมาในรูปแบบการทำงาน
จ. กรณีที่เป็นการส่งผู้ฝึกงานฯโดยผ่านองค์กรรับ-ส่ง ในประเทศของตนจะต้องมีสาขางานที่จะฝึกในญี่ปุ่นเพื่อนำวิชาชีพกลับไปใช้เป็นประสบการณ์
ฉ. กรณีที่เป็นการส่งผู้ฝึกงานฯโดยผ่านองค์กรรับ-ส่ง จะต้องเป็นไปตามกฏหมายการเข้าประเทศ มีการรับรองสัญชาติและที่อยู่อาศัยโดยหน่วยงานรัฐบาล
ช. ผู้ฝึกงานฯ 2 จะต้องกลับประเทศอย่างน้อย 1 เดือนจึงจะสามารถกลับมาฝึกงานเป็นผู้ฝึกงานฯ 3 ได้
ซ. ไม่สามารถฝึกงานซ้ำในระดับที่เคยฝึกมาแล้ว (มี 3 ระดับ คือ ผู้ฝึกงานฯ 1 , ผู้ฝึกงานฯ 2 , ผู้ฝึกงานฯ 3)
ผู้ฝึกงานฯ 1 จะต้องมีความรู้ภาษาญี่ปุ่นอย่างน้อยระดับ N4
ผู้ฝึกงานฯ 2 จะต้องมีความรู้ภาษาญี่ปุ่นอย่างน้อยระดับ N3
รายละเอียดความรู้ภาษาญี่ปุ่นที่จำเป็น
1 ผู้ที่มีความรู้ภาษาญี่ปุ่นมากกว่าระดับ N4 คือ
ผู้สอบผ่านข้อสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นระดับ N3 N2 หรือ N1
ผู้สอบผ่านข้อสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น (แบบเก่า) ระดับ 3 2 หรือ 1 ซึ่งเป็นข้อสอบที่ใช้จนถึง 31 มีนาคม 2553
ผู้สอบข้อสอบ J Test ระดับ E-F ที่ได้คะแนนมากกว่า 350 คะแนนหรือระดับ A-D ที่ได้คะแนนมากกว่า 400 คะแนน
ผู้สอบผ่านข้อสอบ NAT-TEST ระดับ 4 3 2 หรือ 1
2 ผู้ที่มีความรู้ภาษาญี่ปุ่นมากกว่าระดับ N3 คือ
ผู้สอบผ่านข้อสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นระดับ N2 หรือ N1
ผู้สอบผ่านข้อสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น (แบบเก่า) ระดับ 2 หรือ 1 ซึ่งเป็นข้อสอบที่ใช้
จนถึง 31 มีนาคม 2553
ผู้สอบข้อสอบ J Test ระดับ A-D ที่ได้คะแนนมากกว่า 400 คะแนน
ผู้สอบผ่านข้อสอบ NAT-TEST ระดับ 3 2 หรือ 1
การยื่นแผนการฝึกงานของผู้ฝึกงานด้านเทคนิค 1 และ 2 จะต้องยื่นหลักฐานการสอบผ่านภาษาญี่ปุ่นข้างต้นด้วย และจำเป็นต้องยื่นเอกสารก่อนเริ่มฝึกงานอย่างน้อย 4 เดือนสำหรับผู้ฝึกงานฯ 1 และอย่างน้อย 3 เดือนสำหรับผู้ฝึกงานฯ 2 กรณีที่หลักฐานการสอบผ่านภาษาญี่ปุ่นยังไม่พร้อมยื่น ณ วันที่ยื่นเอกสารสามารถยื่นเรื่องตามได้โดยจำเป็นต้องยื่นเอกสารก่อนเริ่มฝึกงานอย่างน้อย 3 เดือนสำหรับผู้ฝึกงานฯ 1 และอย่างน้อย 2 เดือนสำหรับผู้ฝึกงานฯ 2 และจะต้องยื่นเรื่องขอส่งเอกสารไว้เพิ่มเติม ณ วันที่ยื่นเอกสารครั้งแรก
รายละเอียดช่วงการสอบและช่วงส่งใบประกาศผลของข้อสอบภาษาญี่ปุ่นต่างๆ
ประเภทข้อสอบ |
ช่วงสอบ |
ช่วงส่งใบประกาศผล |
ข้อสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น |
ก.ค. ธ.ค. |
ก.ย. ก.พ. (กรณีสอบในประเทศญี่ปุ่น) ต.ค. มี.ค. (กรณีสอบนอกประเทศญี่ปุ่น) |
ข้อสอบ J Test |
ม.ค. มี.ค. พ.ค. ก.ค. ก.ย. พ.ย. |
1 เดือนหลังสอบ |
ข้อสอบ NAT-TEST |
ก.พ. เม.ย. มิ.ย. ส.ค. ต.ค. ธ.ค. |
3 สัปดาห์หลังสอบ |
(2) คุณสมบัติพื้นฐานของการอบรมผู้ฝึกงานด้านเทคนิค
กฏระเบียบการฝึกอบรบผู้ฝึกงานด้านเทคนิค 1 หลังจากเดินทางมาประเทศญี่ปุ่น
ก. กรณีที่ผู้ฝึกงานฯเดินทางโดยผ่านบริษัทแม่ในประเทศญี่ปุ่น บริษัทแม่จำเป็นต้องอบรมผู้ฝึกงานหลังเดินทางมาประเทศญี่ปุ่น กรณีที่ผู้ฝึกงานฯเดินทางโดยผ่านองค์กรรับ-ส่ง องค์กรรับจำเป็นต้องอบรมผู้ฝึกงานหลังเดินทางมาประเทศญี่ปุ่น
ข. หัวข้อการอบรม
1 ภาษาญี่ปุ่น
2 การใช้ชีวิตในประเทศญี่ปุ่น
3 กฏระเบียบการเข้าออกประเทศญี่ปุ่นและกฏระเบียบการทำงาน
4 หัวข้ออื่นๆนอกเหนือจากหัวข้อ 1-3 ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ฝึกงานฯระหว่างอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ค. จำนวนเวลาในการอบรมทั้งหมดจะต้องมากกว่า 1 ใน 6 ของจำนวนเวลาที่ผู้ฝึกงานฯ 1 จะฝึกงานในประเทศญี่ปุ่นซึ่งนับรวมชั่วโมงการอบรมหรือการเรียนภาษาช่วงก่อนเดินทางมาประเทศญี่ปุ่นและหลังจากเดินทางมาแล้วด้วย
ง. การอบรมในหัวข้อ ข. 3 สำหรับผู้ฝึกงานฯที่เดินทางโดยผ่านบริษัทแม่ในประเทศญี่ปุ่นและการอบรมในหัวข้อ ข. 1-3 สำหรับผู้ฝึกงานฯที่เดินทางโดยผ่านองค์กรรับ-ส่ง จะต้องทำการอบรมก่อนการเริ่มฝึกงาน
รายละเอียดการอบรมหลังจากเดินทางมาประเทศญี่ปุ่น
ก. จากกฏระเบียบ (2) ข. 1 ที่กล่าวถึง “การเรียนภาษาญี่ปุ่น” ข้างต้น จะต้องมีการเรียนภาษาญี่ปุ่นมากกว่า 240 ชั่วโมง ซึ่งแบ่งแยกเป็นเรื่องต่างๆ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ “ตาราง 1” ด้านล่าง หากมีการเรียนมาก่อนเข้าประเทศญี่ปุ่นตามกฏระเบียบ (2) ค. ข้างต้น จะสามารถลดหย่อนชั่วโมงได้เพียงบางส่วน
ตาราง 1
วิชา |
รายละเอียดเนื้อหาวิชา |
จำนวนชั่วโมง |
ภาษาญี่ปุ่น |
ภาษาญี่ปุ่นทั่วไป |
100 |
การฟัง |
20 |
|
การอ่าน |
13 |
|
ตัวอักษร |
27 |
|
การออกเสียง |
7 |
|
บทสนทนา |
27 |
|
การเขียนเรียงความ |
6 |
|
ภาษาญี่ปุ่นในการบริบาล |
40 |
|
รวม |
240 |
ข. สำหรับผู้ฝึกงาน 2 ที่สอบผ่านภาษาญี่ปุ่นระดับ N3 จะไม่ข้องเกี่ยวกับหัวข้อ (2) ก. ข้างต้นแต่จะต้องมีการเรียนภาษาญี่ปุ่นมากกว่า 80 ชั่วโมง ซึ่งแบ่งแยกเป็นเรื่องต่างๆ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ “ตาราง 2” ซึ่งหากมีการเรียนมาก่อนเข้าประเทศญี่ปุ่นจะสามารถลดหย่อนชั่วโมงได้เพียงบางส่วน
ตาราง 2
วิชา |
รายละเอียดเนื้อหาวิชา |
จำนวนชั่วโมง |
ภาษาญี่ปุ่น |
การออกเสียง |
7 |
บทสนทนา |
27 |
|
การเขียนเรียงความ |
6 |
|
ภาษาญี่ปุ่นในการบริบาล |
40 |
|
รวม |
80 |
ค. ผู้ที่เป็นอาจารย์สอนภาษาญี่ปุ่นจะต้องจบระดับมหาวิทยาลัยหรือสูงกว่า
ง. หัวข้ออบรมอื่นๆ ที่กล่าวไว้ในหัวข้อ (2) ข. 4 มีรายละเอียดตาม “ตาราง 3” ซึ่งหากมีการเรียนมาก่อนเข้าประเทศญี่ปุ่นจะสามารถลดหย่อนชั่วโมงได้เพียงบางส่วน
ตาราง 3
วิชา |
รายละเอียดเนื้อหาวิชา |
จำนวนชั่วโมง |
ความรู้ที่จำเป็นในสาขาอาชีพ |
พื้นฐานการบริบาล 1 2 |
6 |
เทคนิคการสื่อสาร |
6 |
|
การบริบาล เคลื่อนย้ายผู้ป่วย |
6 |
|
การบริบาล อาหาร |
6 |
|
การบริบาล ขับถ่าย |
6 |
|
การบริบาล เปลี่ยนเสื้อผ้า |
6 |
|
การบริบาล อาบน้ำและทำความสะอาดร่างกาย |
6 |
|
รวม |
42 |
จ. หัวข้ออบรมอื่นๆนั้นจะต้องจัดการอบรมตามกฏเกณฑ์หรือโรงเรียนซึ่งถูกบังคับไว้ใน “กฏระเบียบสถานที่อบรม”
เงื่อนไขเกี่ยวกับการรับผู้ฝึกงานฯ
(1) รายละเอียดเกี่ยวกับพี่เลี้ยงผู้สอนผู้ฝึกงานฯ
พี่เลี้ยงจะต้องเป็นผู้ที่ทำงานประจำอยู่ในสถานบริบาลหรือผู้ฝึกสอนและเป็นต้องมีประสบการณ์
มากกว่า 5 ปีขึ้นไป
พี่เลี้ยงจะต้องเป็นผู้ไม่กระทำผิดกฎหมายแรงงาน กฏหมายเรื่องการเข้าออกประเทศภายใน
ระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา
พี่เลี้ยงจะต้องเป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว
ในจำนวนพี่เลี้ยงทั้งหมดจะต้องมีพี่เลี้ยงมากกว่า 1 คนที่มีใบรับรองว่าสอบผ่านผู้บริบาลหรือพยาบาล
พี่เลี้ยงตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปต่อผู้ฝึกงานฯ 5 คน
(2) รายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ฝึกงาน
สถานที่ฝึกงานนั้นจะต้องเป็นสถานที่ดูแลผู้รับบริบาล
สถานที่ดูแลผู้รับบริบาลจะต้องเปิดทำการมาแล้วมากกว่า 3 ปี
ไม่ให้ผู้บริบาลดูแลผู้รับบริบาลที่บ้านส่วนบุคคล
ประเภทของสถานประกอบการที่ผู้ฝึกงานฯสาขาผู้บริบาลสามารถทำงานได้จะต้องเป็นประเภทที่อยู่ในรายการที่กำหนดไว้
(3) รายละเอียดเกี่ยวกับการทำงานกะกลางคืน
การทำงานในกะกลางคืนนั้นผู้บริบาลจะมีจำนวนน้อยกว่าในช่วงกลางวัน สถานประกอบการที่มีการให้บริบาลช่วงกลางคืนหรือการรับบริบาลฉุกเฉินในช่วงกลางคืนนั้นจะต้องจัดการเรื่องความปลอดภัยของผู้รับบริบาล และแจ้งให้ผู้ฝึกงานฯทราบล่วงหน้าเพื่อพร้อมรับทั้งสภาพร่างการและสภาพจิตใจ
เงื่อนไขเกี่ยวกับองค์กรรับที่ญี่ปุ่น (Supervising Organization)
องค์กรรับที่จะสามารถรับผู้ฝึกงานฯสาขาผู้บริบาลได้นั้นจะต้องเป็นนิติบุคคลที่ไม่ได้มีเป้าหมายในการแสวงหากำไรภายในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งแบ่งเป็นสถานที่และองค์กรต่างๆ ดังนี้
o สภาการค้าอุตสาหกรรม
o สมาคมการค้าอุตสาหกรรม
o องค์กรธุรกิจขนาดเล็ก กลาง
o นิติบุคคลเพื่อฝึกอบรมวิชาชีพ
o สมาคมเพื่อผลประโยชน์ทางสาธารณะ
o มูลนิธิเพื่อผลประโยชน์ทางสาธารณะ
โดยองค์กรรับนั้นจะต้องจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการบริบาล การแพทย์ สวัสดิการสังคม รวมอยู่ในหัวข้อที่จดทะเบียนด้วย
กรณีองค์กรรับมีสาขาอยู่ทั่วประเทศ สาขานั้นๆจะต้องเป็นนิติบุคคลที่ไม่ได้มีเป้าหมายในการแสวงหากำไรด้วยเช่นกัน
สำนักงานแรงงานในประเทศญี่ปุ่น